5 เทคนิคการดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น
วิธีการดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้า
1.มอเตอร์ไฟฟ้า
โดยปกติแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และไม่ต้องการการดูแลยิบย่อยเหมือนเครื่องยนต์สันดาป เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือเปลี่ยนไส้กรองเหมือนรถที่ใช้น้ำมัน แต่เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน ควรนำรถเช็กระยะตามกำหนดทุกครั้ง ให้ช่างได้ดูแลตรวจสอบความผิดปกติของมอเตอร์ไฟฟ้า เพราะหากขัดข้องขึ้นมา อาจทำให้คุณเจอปัญหาบานปลายได้
2.แบตเตอรี่
ปัญหาที่มักเกิดกับแบตเตอรี่ ส่วนมากจะเป็นเรื่องของความชื้นที่อาจไปกัดกร่อนชิ้นส่วนทางกลไก จนทำให้แบตเตอรี่ขัดข้องและมีอายุการใช้งานสั้นลง นอกจากนี้ ยังต้องระวังในเรื่องของความร้อนสะสมที่อาจมากเกินไป หากไม่จำเป็นจึงไม่ควรจอดรถไฟฟ้ากลางแจ้งหรือนอกที่ร่ม
เรื่องการชาร์จเองก็ส่งผลกับแบตเตอรี่เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าไม่ควรชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทิ้งไว้นานเกินไป เพราะอาจส่งผลให้แบตเตอรี่ไฟฟ้าสึกหรอได้ แต่ก็ไม่ควรปล่อให้แบตเตอรี่ต่ำเกินไป เป็นระยะเวลานาน ๆ เช่นกัน เนื่องจากสุขภาพแบตเตอรี่อาจจะเสื่อมเร็วได้นั่นเอง
3.อุปกรณ์ชาร์จไฟ
ในส่วนของที่ชาร์จไฟฟ้า ควรเลือกใช้ที่ชาร์จเดิมที่มาพร้อมกับรถ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองมาแล้วว่ามีความปลอดภัยและมีระบบการป้องกันประกายไฟ รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจร สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้งานได้มากกว่าหัวชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐาน
4.ระบบเบรก
รถยนต์ไฟฟ้านั้น มักจะมีระบบเบรก 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. ระบบเบรกแบบ Regenerative Braking เมื่อคนขับเหยียบเบรก ตัวปั่นไฟจะหน่วงรถให้ช้าลงและเปลี่ยนแรงเฉื่อยของรถให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และชาร์จไฟกลับไปยังแบตเตอรี่ และ 2. ระบบเบรกแบบปกติ ที่จะถูกใช้งานเมื่อมีการเหยียบเบรกแบบกะทันหันหรือฉับพลัน
เมื่อระบบเบรกแบบ Regenerative Braking ถูกใช้งาน ระบบเบรกแบบปกติจะถูกลดบทบาทลง ซึ่งหากไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ก็จะทำให้เกิดสนิมได้ เมื่อต้องการใช้งานจริง ๆ จึงอาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ผู้ขับขี่จึงควรดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ และเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่เมื่อผ่านการใช้งานมาแล้ว 80,000 กิโลเมตร หรือเร็วกว่านั้นหากมีการใช้งานหนัก เช่น บรรทุกของเยอะ หรือขับด้วยความเร็วสูงเป็นประจำ
5.ยางรถยนต์
การดูแลรักษายางรถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่ต่างจากรถยนต์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการรักษาระดับความดันลมยางให้ถูกต้อง การตรวจสอบความดันลมยางและเติมลมยางอย่างสม่ำเสมอ (ดูคำแนะนำได้ในคู่มือรถ) หากยางลมอ่อนหรือแข็งจนเกินไป อาจทำให้เกิดการระเบิดและดอกยางเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนดได้ ซึ่งปกติแล้ว ยางรถไฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน (ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อ) แต่ส่วนใหญ่มักจะมีระยะการใช้งานที่ 20,000-50,000 กิโลเมตร โดยประมา